การจัดศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhx32vW86GkNrrS9CmsAS3RT6gQH-vUTL2tSGrZbLwy1kwXXVadS2lkAv-cz31LhrGcIUU1y8suGmbUKXwiJfwI6OGMsi0AWkDlAwhlpyUs-OWX3HRravGJq3qEV0-pVeFKS8tAx6uefJ46/s400/images.jpg)
ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
ศิลปศึกษาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กในวัยปฐมวัย
เพราะประสบการณ์ทางศิลปะนั้น ไม่เพียงส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์เท่านั้น หากยังช่วยส่งเสริม
พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กในลักษณะบูรณาการ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการจัดประสบการณ์
และ กิจกรรมในลักษณะนี้มีคุณค่าและเอื้อต่อเด็กมากที่สุด
ประสบการณ์ศิลปะส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็ก ดังนี้
- พัฒนาการทางด้านร่างกาย : พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก
และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
- พัฒนาการทางด้านสังคม : มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้จากกันและกัน
(cooperative learning) แลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักแบ่งปัน
- พัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ : สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (confidence)
เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเอง (self- esteem) การคิดดีและชื่นชมในผลงานของผู้อื่น สร้างวินัย
ความรับผิดชอบ มีสุนทรียภาพ
- พัฒนาการทางด้านสติปัญญา : มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รู้จักแก้ปัญหา
ทำงานแบบมีระบบ (วางแผน ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ) รู้จักคิดและชี้แจงเหตุผล สังเกต และ
เปรียบเทียบ ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุหรือประสบการณ์ในการสื่อความหมาย
(ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในพัฒนาการทางด้านการคิดของเด็ก) มีทักษะทางด้านภาษา
ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์
คุณครูเป็นส่วนสำคัญในการจัด ประสบการณ์ทางศิลปะที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ของเด็ก ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณครูต้องความเข้าใจการจัดกิจกรรมและบทบาทของตน
การจัดประสบการณ์ทางด้านศิลปะ
1. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ให้พร้อม และพอเพียงต่อความต้องการ ของนักเรียน
ในการเตรียมสถานที่นั้น คุณครูควรจัดเนื้อที่ให้นักเรียนทำงานและเคลื่อนไหวได้สะดวก และปลอดภัย
อุปกรณ์ที่จัดให้ควรมีเพียงพอต่อนักเรียน เช่น ถ้ามีนักเรียน 5 คนที่วาดรูปด้วยสีโปสเตอร์ คุณครูควร
ที่จะเตรียมพู่กัน 5 อัน และจัดสี 1 ชุด ต่อนักเรียน 1-2 คน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน และ
รีบเร่งทำงานเพื่อที่จะแบ่งอุปกรณ์ให้กับเพื่อนที่รออยู่ หากในห้องเรียนมีอุปกรณ์น้อย คุณครูควร
ที่จะกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม และใช้วิธีผลัดกัน
2. กิจกรรมที่จัดควรเป็น กิจกรรมปลายเปิด เช่น ระบายสีด้วยสีเทียน และสีโปสเตอร์ตาม
อิสระ เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ด้วยตนเอง มีอิสระในการสร้างสรรค์ ใช้ความคิดได้
อย่างเต็มที่ รู้จักที่จะเลือกและตัดสินใจ (เลือกว่าจะวาดอะไร) และเรียนรู้ที่จะสื่อความคิดตนออกมา
ในรูปแบบที่ตนต้องการ
3. กิจกรรมที่จัดควรมีความ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ (Developmental Appropriate)
ในการจัดกิจกรรม คุณครูควรคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียน กิจกรรมศิลปะควรมีความเหมาะสมต่อ
ความ สามารถของเด็กในวัยนั้น ๆ กิจกรรมบางอย่างถึงแม้ว่าเป็นกิจกรรมศิลปะให้เด็ก แต่มันอาจจะ
ไม่เหมาะกับเด็กในวัยปฐมวัย เช่น การพับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ (origami) จัดว่า
ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยปฐมวัย เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้นและซับซ้อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่
นักเรียนต้องทำตามรูปแบบที่กำหนดขั้นโดยดูครูเป็น ตัวอย่าง และนักเรียนส่วนมากไม่สามารถ
ทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเอง และต้องรับ ความช่วยเหลือจากครูเกือบตลอดเวลา ซึ่งบางทีครู
กลายเป็นคนพับเสียเอง การที่นักเรียนส่วนมากต้องการความช่วย เหลือตลอดกิจกรรมนั้น
แสดงให้เห็นว่า พัฒนาการของเด็กยังไม่พร้อมที่เขาจะทำงานประเภทนี้ได้
4. Process not product คุณครูควรเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลงาน ระหว่างที่นักเรียน
ทำกิจกรรมศิลปะ เขาได้ใช้กระบวนการการคิดต่าง ๆ เพื่อที่จะสื่อความรู้สึกนึกคิดลงบนกระดาษ
การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ผลงานเป็นเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน
5. ตั้งความคาดหวังให้เข้ากับ วัยของนักเรียน เป็นเรื่องปกติที่คุณครูจะคาดหวังในนักเรียน
ของตน หากแต่ความคาดหวังที่ตั้งขึ้นนั้น ควรมีความเหมาะสมกับวัย เช่น เด็กวัย 3 ปี ยังเป็นช่วง
เวลาที่เด็กเริ่มสนใจและเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องเขียน ต่าง ๆ กล้ามเนื้อมือนั้นยังไม่ แข็งแรงพอ
ที่จะบังคับทิศทางของอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำ การที่คุณครูคาดหวังให้เด็กในวัยนี้ระบายสี
โดยไม่ออกนอกเส้น หรือวาดรูปเป็นรูปร่างเจาะจงนั้น คุณครูสร้างความคาดหมายที่ไม่เหมาะสมกับ
พัฒนาการของเด็กในวัยนั้น ดังนั้นในการที่ครูจะรู้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสม ครูต้องมีความ
เข้าใจและความรู้เรื่องพัฒนาการของผู้เรียนของตน และมีความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมศิลปะ เพื่อที่จะ
ตั้งเป้าหมายและความหวังให้เข้ากับผู้เรียน
6. ให้ความสนใจและคุณค่าต่อ กระบวนการทำงานและผลงานของนักเรียน ซึ่งทำได้โดย
พูดคุยกับนักเรียน และมีการนำเสนอผลงาน การที่คุณครูนำเสนอผลงานของนักเรียน โดยการติดไว้
ในที่บอร์ดในห้อง บ่งบอกให้นักเรียนรับรู้ว่า งานของเขามีคุณค่า ซึ่งจะทำให้เขาจะรู้สึกชื่นชม และ
ภูมิใจในความสามารถของตน การพูดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจของครูที่มีต่อ
การทำงานของ นักเรียน ซึ่งเฌอเม็คเคอร์ (1986) แนะนำว่าในการสนทนากับเด็ก คุณครูควรให้เด็ก
พูดและแสดงความคิดเห็นของตนโดยที่ครูไม่ควรที่จะเปรียบ เทียบ หรือแก้ไขผลงานของเด็ก และ
แนะนำว่า เวลาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับงานศิลปะ ครูควรพูดถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ และการใช้องค์ประกอบ
ทางศิลปะ (elements of art) ในการวาดภาพ เช่น การใช้สี วิธีการวาดลายเส้น รูปทรง การจัดวางช่อง
ว่างและใช้เนื้อที่ (space) เป็นต้น (Schirrmacher, 1986) ตัวอย่าง เช่น “ในภาพนี้ คุณครูสังเกตว่า
มีเส้นหลายชนิด มีเส้นตรงข้างบน เส้นโค้งบนมุมขวามือ ...” “หนูใช้ความพยายามมากเลยในการตัด
กระดาษให้เป็นสามเหลี่ยมอันเล็ก ๆ” “ครูสังเกตว่าเวลาหนูวางขนแปรงให้แบนบนกระดาษและลาก
เส้นลงมา เส้นที่ออกมาจะหนา” เป็นต้น การที่ครูพูดถึงงานของเด็กในลักษณะนี้ เป็นการส่งเสริม
ทักษะทางด้านภาษา และแสดงให้เด็กเห็นว่าตัวครูมีความสนใจในกระบวนการทำงาน และให้คุณค่า
ต่องานของเขา ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถและทักษะของตน
7. สนทนากับนักเรียน เรื่องการดูแลรักษา การใช้อุปกรณ์ และกติกาในการปฏิบัติกิจกรรม
ในระยะเริ่มต้น ก่อนที่จะทำกิจกรรม ครูควรที่จะพูดคุยให้เหตุผลกับนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษา
อุปกรณ์ เช่น การที่จะให้นักเรียนทำการตัดแปะ ครูอาจจะพูดและสาธิตให้นักเรียนดูว่าเมื่อใช้กรรไกร
เสร็จแล้ว ควรเก็บไว้ในตะกร้าเหมือนเดิม หรือใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน เช่น ถ้าครูเห็นนักเรียน
เหยียบกรรไกร คุณครูควรอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าทำไมไม่ควรเหยียบ และสอนให้นักเรียนรู้จักช่วยกัน
รักษาสมบัติของห้องเรียน
8. กำหนดเวลาให้เหมาะสม กิจกรรมศิลปะควรจัดให้เป็นกิจกรรมประจำวัน เนื่องจากเป็น
กิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจมาก และเป็นส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และทักษะทางด้านต่าง ๆ
ซึ่งในการจัดกิจกรรม ครูควรตั้งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม การที่ครูตั้งเวลาไว้น้อย และเร่งเด็ก
ให้ทำงานเสร็จภายในเวลาอันสั้นนั้น สิ่งที่สื่อออกมา คือ กระบวนการทำงานนั้นไม่สำคัญเท่า
การทำให้เสร็จในเวลา ดังนั้น เด็กก็จะรีบทำงานให้ เสร็จ ๆ ไป และไม่ใส่ใจในการทำงาน
เป็นปกติที่เด็กแต่ละคนจะใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน ดังนั้นคุณครูควรมี
ความยืดหยุ่นในเวลา ถ้านักเรียนทำงานไม่เสร็จ คุณครูอาจจะให้เวลาเพิ่มเติม หรือให้เขาเก็บงาน
ไว้ทำในวันต่อไป
9. ให้นักเรียนมีส่วนร่วม (Students’ Involvement) นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดเตรียม
และทำความสะอาด เช่น ช่วยหยิบและเก็บกระดาษ และตะกร้าใส่ดินสอสี หรือช่วยเช็ดโต๊ะ
เพื่อที่เขาจะได้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง และเข้าใจถึงหน้าที่และรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และ
ห้องเรียน
ในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น
- กิจกรรมวาดภาพระบายสี - กิจกรรมเล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี หยดสี พับสี ระบายสีด้วยนิ้วมือ ฝ่ามือ - กิจกรรมการพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและวัสดุต่าง ๆ - กิจกรรมการปั้น ขยำดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด กระดาษ ฯลฯ - กิจกรรมการพับ ฉีก ตัด ปะ - กิจกรรมการร้อย สาน และการออกแบบ - กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย ในการจัดกิจกรรม ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท
โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา
การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน ฯลฯ
- กิจกรรมเล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี หยดสี พับสี ระบายสีด้วยนิ้วมือ
- กิจกรรมการพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและวัสดุต่าง ๆ
- กิจกรรมการปั้น ขยำดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด กระดาษ ฯลฯ
- กิจกรรมการพับ ฉีก ตัด ปะ
- กิจกรรมการร้อย สาน และการออกแบบ
- กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย
ในการจัดกิจกรรม ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท
โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา
การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรม
สร้างสรรค์ เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน ฯลฯ
ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น แสงสว่างพอเหมาะ
มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมอง
ส่วนที่คุมกล้ามเนื้อพร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ
ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้อง
ของสัดส่วน แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน
ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถ
ถ่ายทอด
ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมี
ความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละ
บุคคล ถ้า หากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้ บรรยากาศที่มีเสรีภาพ
สำหรับ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้
1. การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
2. การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง
3. การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ ๆ
4. การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง
5. การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ
6. การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม
จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการ เจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และ
พฤติกรรม และศิลปะคือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
เพราะ กระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้
แก่เด็กได้ตลอด เวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็ก เกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น
และก้าวไปยังโลกแห่ง จินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต
การวาดรูประบายสี เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา
เด็กจะ รู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้
เป็นภาพ ที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3- 4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของ
เด็กเป็นอีก กิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยใน การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น
รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา
การปั้น การปั้นดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ
ของเด็กแต่ ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็ก
เด็กจะได้เรียนรู้ รูปร่างต่างๆ
การพับกระดาษ เป็นกิจกรรมในการพัฒนาจิตใจและสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และรู้สึกสนุกจึงทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความ
เคลื่อนไหวของมือและการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างจากกระดาษที่พับ
การฉีก-ปะกระดาษ เป็นกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริม การใช้ทักษะมือ และนิ้วมือ
ที่เราเรียกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำงานได้ดีต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์
ระหว่างตา กับมือด้วย
การพิมพ์ การพิมพ์ภาพเป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆ
ประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็น
แม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไป พิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้
การเป่าสี คือการนำสีน้ำหรือสีโปสเตอร์ ผสมกับน้ำให้สีข้นพอสมควร
โดยการหยดสีลงบนกระดาษ ใช้หลอดกาแฟจ่อปลายหลอดที่สี แล้วเป่าให้สีกระจาย
จะได้ภาพสวยงามหลายหลากสี
การประดิษฐ์เศษวัสดุ เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าการประยุกต์ให้เศษวัสดุ
ใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความภาคภูมิใจต่อผลงานของตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้
ด้วยการลงมือกระทำ มีส่วนร่วมทั้งความคิด จิตใจ สมอง เกิดความประทับใจ เรียนรู้ด้วย
ความเข้าใจ จะทำให้เด็กค่อยๆ เกิดความคิด สร้างจินตนาการ นำไปสู่การคิดค้น
การแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งานใหม่ได้
การเรียนเกี่ยวกับศิลปะจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจใน คุณค่าของสุนทรียภาพ
และการสร้างสรรค์ รู้ค่าของความผูกพันระหว่างชีวิตกับศิลปะ ทำให้เกิดค่านิยมที่ดีต่อ
ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนศิลปะจึงมีความสำคัญต่อการศึกษามาก เพราะศิลปะ
เป็นพื้นฐานของประสบการณ์อื่น และยังสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้เด็กมีพฤติกรรมอันดีงาม
ที่พึงประสงค์อีกด้วย
ข้อควรระวังในการจัดประสบการณ์ศิลปะ
1. ให้คะแนน หรือรางวัล เช่น ดาว สติกเกอร์ เป็นต้น การให้คะแนนหรือรางวัลนั้น
คุณครูบางท่านอาจจะมองว่า เป็นการสร้างแรงเสริมให้กับเด็ก แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่เด็กจะได้ก็
คือ ความไม่กล้าที่จะลองเพราะกลัวว่าออกมาไม่สวย ได้คะแนนไม่ดี ความกลัวว่าผลงานของตน
จะไม่ดีพอไม่สวยพอ เปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน นอกจากนี้ยังทำให้เด็กคิดว่าการทำงาน
ต้องมีผลทางวัตถุตอบแทน จึงให้ความสนใจที่ผลตอบแทนมากกว่ากระบวนการเรียนรู้
และยังจำกัดความคิดและสร้างสรรค์อย่างอิสระ เนื่องจากนัก เรียนมุ่งหวังที่จะสร้างผลงานให้ถูกใจครู เพื่อที่จะได้รับคะแนนดีหรือรางวัล
ซึ่งจริง ๆ แล้วศิลปะนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดอย่างหนึ่งของแต่ละ บุคคล ดังนั้นศิลปะ
ไม่ควรถูกมองว่ามีถูกหรือผิด มีสวยมากหรือสวยน้อย มีดีมากหรือดีน้อย การที่เราให้คะแนน
หรือรางวัล ถือว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อตัดสินความคิด ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ไม่มีมาตรฐาน
เพราะขึ้นอยู่กับความคิดและความพอใจของผู้สอนแต่ละบุคคล จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่ครูจะตัดสิน
ผลงานของเด็กด้วยการให้คะแนน หรือรางวัล
2. ให้นักเรียนระบายสี และตัดแปะกระดาษในกรอบ ศิลปะเป็นการสื่อความคิด ความรู้สึก
ความเข้าใจ โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ สื่อสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นรูปธรรม การให้นักเรียนทำงานศิลปะ
ที่มีกรอบกำหนดนั้น (pre-draw) เป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก เนื่องจากรูปถูกกำหนด
ตายตัวไว้แล้ว นักเรียนไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนตามจินตนาการของตนได้ และต้องทำตามแบบ
ฉบับที่ถูกกำหนดไว้
ครูควรคำนึงว่า งานศิลปะนั้นเป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ กิจกรรมที่เน้น
ความสวยงามในแบบที่ผู้ใหญ่คาดหวังไว้ กิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมปลายเปิดที่ให้นักเรียน
ได้ลงมือปฏิบัติ และสร้างสรรค์ผลงานตามความรู้สึกของตน
3. ใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่าง สำเร็จแล้ว การใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จ
(pre-cut shapes) ในการตัดแปะนั้น สิ่งที่เด็กจะได้รับก็คือ การรู้จักแปะรูปด้วยกาว และการจัดวาง
เพื่อให้เกิดความเหมือน กิจกรรมในลักษณะนี้เป็นงานที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ และเน้นเพียง
ความสวยงามและความเหมือนซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความคิดของ ผู้สอน กิจกรรมไม่ได้
สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นคุณครูควรหลีกเหลี่ยงการตัดกระดาษสำเร็จรูปให้นักเรียน
ควรให้นักเรียนฉีก ตัด กระดาษเป็นรูปร่าง ต่าง ๆ ตามความคิดส่วนตัว
4. วาด รูปเป็นตัวอย่างให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง การที่คุณครูวาดภาพให้เด็กดูเป็นตัวอย่างนั้น
ส่งถึงผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเป็นธรรมดาที่เด็กนั้นจะชื่นชมผลงานของครู และต้องการที่จะ
สร้างสรรค์ผลงานให้ได้เหมือนกับของผู้ใหญ่ และเมื่อเขาไม่สามารถทำให้เหมือนได้
เขาก็จะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวังในตนเอง และจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อกิจกรรมนั้น ๆ และต่อตนเอง
5.ช่วยแก้ปัญหา โดยการทำให้ เวลาที่นักเรียนวาดอะไรไม่ได้ บางทีคุณครูก็จะช่วยด้วย
การทำให้ ซึ่งวิธีนั้นทำให้นักเรียนไม่รู้จักอดทนต่อการแก้ปัญหา และไม่พยายามเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา
ด้วยตนเอง ถ้านักเรียนวาดรูปไม่ได้ ครูควรพูดแนะนำเพื่อทำให้ขั้นตอนการวาดง่ายขึ้น และใช้
คำถามกระตุ้นเพื่อเด็กคิด เช่น “หน้าของหมามีรูปทรงอย่างไง เป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม และ
ตัวหมาเป็นรูปทรงอะไร ” หรือ ให้แนะนำให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและหาข้อมูลรอบตัวในการแก้ปัญหา
เช่น “เราลองไปหารูปหมาในหนังสือเป็นตัวอย่างดีไหม บางทีการที่เราได้เห็นรูป ”
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น